เมนู

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม

สถาปัตยกรรมล้านนาแบบผสมผสานงดงามลงตัว

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีเป็นวัดที่สวยงามและโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมล้านนาแบบผสมผสานที่ได้จำลองรูปแบบมาจากวัดสำคัญๆ ของภาคเหนือรวมถึงจากประเทศอื่นอย่าง พม่า จีน และลาว ภายในวัดจัดแสดงโบราณวัตถุมีค่าของภาคเหนือไว้มากมาย

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีนั้น ออกจะเป็นเรื่องแปลก และน่าอัศจรรย์ หากใครได้มาเห็นวัดพระธาตุสุโทน ที่อ.เด่นชัย จ.แพร่ แล้วมีคนบอกว่าทั้งหมดที่เห็นนี้เป็นฝีมือของเจ้าอาวาสที่อายุเพียง 30 กว่าปี ชื่อหลวงพ่อมนตรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าครูบาน้อย บางคนบอกว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ว่าเป็นไปได้ยังไงที่อดีตของพระรูปนี้เป็นลูกชาวนาในพื้นที่ อ.เด่นชัย เคยเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย และเรียนหนังสือแค่ชั้นประถมปีที่ 7 จากนั้นก็ต้องออกด้วยเหตุผลเพราะต้องการบวช จนถึงปี 2521 (อายุ 18) ก็เริ่มก่อสร้างวัด จากนั้นอีก 17 ปี ก็แล้วเสร็จและกลายเป็นวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งของภาคเหนือ ชนิดที่ใครมาเห็นแล้วอาจตื่นตะลึงกับความสวยงาม ว่าไม่เคยเห็นที่ใดจะอลังการเท่าวัดนี้ วัดพระธาตุสุโทน ประกอบพิธีฝังลูกนิมิตเมื่อปี 2540 โดยสมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทนพระองค์ เป็นที่ปลาบปลื้มให้กับประชาชนชาวอำเภอเด่นชัย และชาวจังหวัดแพร่เป็นอย่างยิ่ง วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี เป็นวัดที่สวยงามตามลักษณะของสถาปัตยกรรมล้านนาแบบผสมผสาน ที่หลวงพ่อมนตรีได้จำลองรูปแบบมาจากวัดสำคัญ ๆ ของภาคเหนือ และจากประเทศอื่นได้แก่ พม่า จีน และลาว โดยเลือกเอา จุดเด่นของแต่ละแห่งมารวบรวมไว้ที่วัดนี้ เป็นการผสมผสานที่ลงตัว ทำให้มีลักษณะต่างจากวัดทั่วไป นอกจากจะนำเอาสุดยอดงานด้านพุทธศิลป์ของล้านนา ที่มีชื่อเสียงมารวมกันไว้ที่เดียวแล้ว ยังระดมช่างฝีมือชั้นยอดที่เรียกว่า”สล่า”ของภาคเหนือมาร่วมกัน ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยมีหลวงพ่อมนตรีควบคุม ออกแบบ และลงมือก่อสร้างด้วยตัวเองในส่วนที่เป็นงานชิ้นสำคัญ ๆ บ่อยครั้งที่มีผู้พบเห็นหลวงพ่อกำลังทำงานบนนั่งร้านหลังคาโบสถ์ หรือกำลังปั้นโครงพระพุทธรูปก่อนที่จะให้ช่างฝีมือดำเนินการต่อ ความสามารถในงานพุทธศิลป์ ได้รับการกล่าวขานจากผู้พบเห็นเป็นอันมาก แม้แต่เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรก็เคยมาเห็น และต่างทึ่งในฝีมือเป็นอันมาก โดยเฉพาะการเขียนลวดลายต่าง ๆ ไม่มีต้นแบบ ไม่มีแบบร่าง เมื่อจรดดินสอบนกระดาษก็วาดลายได้ทันที ต่างกับหลักการร่างลายไทยโดยทั่วๆ ไป หลวงพ่อมนตรีมีความรู้ในเชิงช่างมาจากไหน และทำไมถึงเก่งขนาดนี้

ประวัติ หลวงพ่อมนตรี เดิมชื่อเด็กชายมนตรี บุญมี เกิด พ.ศ. 2503 มีความสนใจ พุทธศาสนา และสนใจงานปั้นมาแต่เด็ก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เมื่ออายุได้ 9 ปี เคยปั้นพระหน้าตักกว้าง 3 ศอก ไว้กลางทุ่งนาแถวบ้านป่าหวาย อ.เด่นชัย โดยใช้เวลาปั้นแค่วันเดียว เมื่อบวชเรียนก็ศึกษางานปั้นจากช่างอาวุโส ที่สอนหล่อพระหล่อระฆัง จากคุณตาหมื่น บุญยเวทย์ วัย 85 และคุณตาอยู่คะณา วัย 80 ปี จากบ้านเตว็จ จังหวัดสุโขทัย จากนั้นก็ได้รับการถ่ายทอดการ ปั้นพระและสร้างวิหาร จากครูบาคัมภีระปัญญา วัดเฟือยลุง จ.น่าน การสร้างวัด หลวงพ่อมนตรี ได้นำเอาจุดเด่นของวัดหลายแห่งมาประยุกต์ไว้ที่วัดนี้ จากการ ได้ตระเวนตามวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือและดินแดนล้านนาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง พม่า และจากประเทศลาว เพื่อศึกษารูปแบบของ ศิลปะล้านนาที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างไว้ ทั้งงานปั้น งานแกะสลัก รวมทั้ง จิตกรรมฝาผนัง พร้อมกันนี้ก็ได้เสาะหาช่างฝีมือเอกของล้านนามาร่วมงาน สร้างวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสุดยอดของศิลปะล้านนาจำนวนถึง11 แห่ง ที่นำมาประยุกต์สร้างโบสถ์วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆภายในวัดพระธาตุสุโทน ได้แก่

– ซุ้มประตูด้านหน้าโบสถ์ จากวัดพระธาตุลำปางหลวง 
– ซุ้มประตูด้านตะวันออก จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ
– ซุ้มประตูด้านตะวันตกจากวัดพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ซึ่งวัดนี้สร้าง จากช่างฝีมือเชียงใหม่ที่พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชแห่งลาวเป็นผู้นำ ไปสร้าง 
– ฐานพระอุโบสถรูปซิกแซก วังประทับพระยามังราย จ.เชียงราย

– ประตูและหน้าต่างลวดลายแกะสลัก วิหารลายคำวัดพระสิงห์ เชียงใหม่

– ปั้นลมลวดลายเก่าศิลปะทางเหนือ จากวัดต้นเกวน อ.สเมิง เชียงใหม่
– นาค 7 เศียร แบบขอม / นางอัปสรปูนปั้น จากวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
– หอไตร จากวัดพระสิงห์ เชียงใหม่
– หอระฆัง จากวัดพระธาตุหริภูญชัย
– กุฏิหลังใหญ่สร้างจากไม้สักทองจากบ้านไทยสิบสองปันนาประเทศจีน
– พระบรมธาตุ 30 ทัส ศิลปะเชียงแสนจากวัดพระธาตุนอ(หน่อ) ของพระชนกพระเจ้าเม็งรายมหาราช จากแคว้นสิบสองปันนา

การเดินทางไปวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม   อยู่ริมถนนหมายเลข 101 (เด่นชัย-ลำปาง) ห่างจากแยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. (ใกล้ๆ กับค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์) 

การเดินทางไปแพะเมืองผี

การเดินทางไปวนอุทยานแพะเมืองผีนับว่าสะดวกมากหากมีรถไปเอง เดินทางจากจังหวัดแพร่ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระหว่างจังหวัดแพร่-จังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปประมาณ 7 กม. จะมีทางแยกขวามือไปวนอุทยานแพะเมืองผีอีก 3 กม. ถนนลาดยางตลอด ถ้าหากไม่มีรถไปเองก็ติดต่อว่าจ้างเหมาะรถโดยสารจากสถานีบ.ข.ส.จังหวัดแพร่ หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็ได้ รวมระยะทางประมาณ 10 กม.


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า
LINE LOGO SVG แชท