เมนู

กระดังงา แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของกระดังงาไทย อยู่ในป่าดิบชื้น บริเวณภาคใต้ของไทย และยังพบในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนใต้ เป็นต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระดังงาประกอบด้วย ชื่อสกุล Cananga (คะนังงา) คงเป็นชื่อพื้นบ้านของกระดังงาในแถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย แสดงว่าชื่อ กระดังงาในภาษาไทยมาจากชื่อใน ประเทศมาเลเซีย-อินโดนีเซีย (เช่น เดียวกับชื่อชมพู่ จำปาดะ ตะลิงปลิง เป็นต้น) ชื่อชนิด (species) odorata หมายถึงมีกลิ่นหอม ชื่อภาษาอังกฤษของกระดังงาไทย คือ Kenanga, Ylang Ylang ส่วนชื่อในภาษาไทย คือกระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ไทยภาคกลาง) สะบันงาต้น สะบันงา (ไทยภาคเหนือ) กระดังงา กระดังงอ (ไทย ภาคใต้) คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับกระดังงาไทยมานานแล้ว ดังเช่นหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอ บรัดเล อธิบายว่า “กระดังงา : ชื่อต้นไม้อย่างหนึ่ง โตประมาณ ห้ากำหกกำ ดอกสีเหลืองเป็นกลีบ ยาวๆ กลิ่นหอม”  แสดงว่า คนไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ๑๔๐ ปีก่อน รู้จักกระดังงากันดีแล้ว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นกระดังงา เป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มโปร่งขนาดกลาง ออกดอกตลอดทั้งปี มีใบเดี่ยว รูปวงรี ลักษณะคล้ายปลายหอก กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-20 เซนติเมตร ยามออกดอก จะออกเป็นช่อ อยู่รวมกันเป็นกระจุก บริเวณซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกมีสีเหลืองอมเขียว ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ในช่วงเช้า และช่วงเย็น จะได้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ โดยจะเริ่มออกดอกเมื่อปลูกไว้ประมาณ 3 ปี ความสูงประมาณ 7-8 เมตร

ประโยชน์ของกระดังงา

ในด้านสมุนไพร ส่วนใหญ่ใช้กระดังงาไทย เพราะรู้จักคุ้นเคยกับคนไทยมานานกว่า ทั้งนี้อาจใช้กระดังงาสงขลาแทนได้ เพราะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน

  • ดอก รสหอมสุขุม บำรุงเลือด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลัง
  • เนื้อไม้ รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ 
  • เปลือก รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ  แก้ท้องเสีย
  • ใบ รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้คัน ขับปัสสาวะ
  • เกสร แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปถวีธาตุ แก้โรคตา ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ราก คุมกำเนิด

ในดอกกระดังงามีน้ำมันหอมระเหยเรียกว่า ” Ylang Ylang oil” มีฤทธิ์ลดความดันเลือดสูง ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ ไล่แมลง ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนั้นยังนำไปใช้ในการรักษาแบบ aromatherapy แก้อาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ความดันเลือดสูง ปัญหาระบบทางเดินอาหาร และปัญหาทางจิตใจที่เกี่ยวกับทางเพศ เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยจากกระดังงา ยังใช้ทำน้ำหอม แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่นขนม หรืออาหารให้มีกลิ่นหอมน่ากินอีกด้วย

ในอดีตจะนำดอกกระดังงา มาอบกลิ่นหอมให้แก่ขนมไทย ใช้วิธีนำดอกกระดังงาที่แก่จัดสดๆ มาลนเปลวไฟจากเทียน เพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมามากกว่าปกติ แล้วนำไปเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน นำน้ำนั้นไปคั้นกะทิ หรือทำน้ำเชื่อมปรุงขนมหวาน  เทคนิควิธีการนำดอกกระดังงามาลนไฟเพื่อเพิ่มความหอมดังกล่าวมา นี้เองคงเป็นต้นตอของสำนวนไทย “กระดังงาลนไฟ” 

คนไทยในอดีตยังนำดอกกระดังงาไปทอดในน้ำมันมะพร้าว เพื่อนำน้ำมันไปใส่ผมอีกด้วย ซึ่งคงมีผล ทำให้ลดกลิ่นน้ำมันมะพร้าว และเพิ่มกลิ่นหอมของกระดังงาเข้าไปแทนที่


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า
LINE LOGO SVG แชท