เมนู

วัดเจ็ดยอด วัดประจำปีคนเกิดปีมะเส็ง

วัดเจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามหาวิหาร  วัดสวย แบบพุทธคยาอินเดีย วัดประจำคนเกิดปีมะเส็งวัดสวยในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทยเลยก็ว่าได้ เพราะที่นี่เคยมีการจัดประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก และนอกจากนี้ ยังเป็น วัดประจำปีคนเกิดปีมะเส็ง หรือ ปีงูเล็ก แต่จริงๆ แล้วตามความเชื่อของชาวล้านนา พระธาตุประจำคนเกิดปีนี้ คือ โพธิบัลลังก์ วิหารมหาโพธิเจดีย์ รัฐพิหาร ในประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากสถานที่นั้นอยู่ไกลเลยให้ พระเจดีย์เจ็ดยอด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีนี้แทน ภายใน วัดเจ็ดยอด นั้นมีสถาปัตยกรรมที่งดงาม คือ ทรงยอดปรางค์เป็นตามแบบพุทธคยาอินเดีย มีอยู่เจ็ดยอดด้วยกัน และมีลายปูนปั้นที่ฐานพระเจดีย์ เป็นรูปของเทวดายืนและนั่งเรียงอยู่รอบๆ เหมือนกับเป็นการคุ้มครองและปกป้องรักษาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นี้เอาไว้ แม้กระทั่งแผนผังและศิลปกรรมของวิหารมหาโพธิ์ ก็มีลักษณะเดียวกับวิหารมหาโพธิ์ในประเทศอินเดียด้วย

      อีกสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ คือ กู่บรรจุพระเจ้าติโลกราช ที่พระเจ้ายอดเชียงรายโปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพของพระเจ้าติโลกราช เมื่อปี พ.ศ.2034  แต่ก็ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะยังมี ทั้ง ซุ้มประตูโขงทางเข้าวัด มหาวิหาร พระสถูปเจดีย์อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าติโลกราช สัตตมหาสถาน หอไตร เป็นต้น วัดเจ็ดยอด เป็นอีกหนึ่งวัด กลางเมือง เชียงใหม่ ที่อยากจะให้ทุกคนได้ไปสักการะและไหว้พระขอพรกันค่ะ ถ้าแวะมาเมืองล้านนา อย่าง เชียงใหม่ แล้วไม่ได้มา วัดเจ็ดยอด ก็เหมือนมาไม่ถึงเชียงใหม่เลยนะคะ นอกจากเราจะได้ไหว้พระขอพระแล้ว น่าจะได้รูปสวยๆ ของมุมต่างๆ ภายในวัดกลับไปแน่นอน

ประวัติวัดเจ็ดยอด.

วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่เป็นบริเวณวัดในปัจจุบันประมาณ 37 ไร่ 3 งาน 61 ตารางวา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดอยู่ติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งเป็นทางคมนาคมสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปชมปูชนียวัตถุและโบราณสถานของวัดเจ็ดยอดได้สะดวก

ประวัติความเป็นมาของวัด

วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง) เป็นวัดโบราณและมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์วัดหนึ่งของอาณาจักรล้านนาไทย กล่าวคือ เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1998 โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต หรือ สีหโคตรเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง ศาสนสถานและเสนาสนะขึ้นเป็นพระอาราม โปรดฯ ให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อพระอุตตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีสงฆ์องค์แรกในพระอารามนี้ ที่ได้เทศนาแก่พระเจ้าสมเด็จติโลกราชจนเกิดให้ศรัทธา และเชื่อในเรื่องอานิสงส์ปลูกต้นโพธิ์ ในเวลาต่อมา

โบราณสถานที่สำคัญของวัด

  1. ซุ้มประตูโขงทางเข้าวัด ศิลปกรรมของซุ้มประตูโขงที่น่าสนใจและดูชม คือ ลวดลายปั้น ประดับตกแต่งกรอบวงโค้งและหางซุ้มที่เป็นส่วนประกอบซุ้มประตูสองข้าง
  2. มหาวิหารเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญยิ่งในวัดนี้ สมเด็จพระเจ้าติโลกราชโปรดให้ใช้เป็นสถานที่ประชุมพระมหาเถระทั่วราชอาณาจักรล้านนาไทย ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกนับเป็นอัฐมะสังคายนา ครั้งที่ 8 ของโลก มหาวิหารแห่งนี้ไดรับการสถาปนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2020
  3. พระอุโบสถ  หลังแรกของวัดเจ็ดยอดพระเมืองแก้วพระราชาธิบดีลำดับที่ 12 แห่งราชวงศ์มังรายทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าติโลกราช โปรดให้สร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้ายอดเชียงราย พระราชบิดาของพระองค์ในวัดนี้ เมื่อ ปี พ.ศ. 2045 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลพระอุโบสถหลังนี้ทรงอุสภลักษณ์ กว้าง 32 ศอก กับ 1 คืบ ส่วนยาว 78 ศอก กับ 1 คืบ ที่ตั้งปาสาณนิมิตของพระอุโบสถ กว้าง 41 ศอก ยาว 116 ศอก
  4. พระสถูปเจดีย์อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าติโลกราช พระยอดเชียง พระราชาธิบดีลำดับที่ 11 แห่งราชวงศ์มังรายเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าติโลกราช โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นพระราชอนุสาวรีย์ที่ประดิษฐานพระอัฐิพระราชอัยการ คือ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิติลภ หรือสมเด็จพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พุทธศักราช 2031
  5. สัตตมหาสถาน คือ สถานที่สำคัญเนื่องในพระพุทธประวัติ 7 แห่ง คือ
    • ปฐมโพธิบัลลังก์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ด้านทิศตะวันออก ทรงตั้งวิริยาธิษฐานปฎิญาณพระองค์ว่า “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระอนุตตระสัมมสัมโพธิญาณเพียงใด ก็จะไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น แม้มังสะและโลหิตจะเหือดแห้งสูญสิ้นไป จะคงเหลืออยู่แต่หนังเส้นเอ็นก็ตามทีเถิด”
    • อนิมิสเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับยืนทอดพระเนตรปฐมโพธิบัลลังก์ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ณ ที่นั้น เป็นเวลา 7 วัน
    • รัตนฆรเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับนั่งทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎก เป็นเวลา 7 วัน ภายหลังที่ตรัสรู้ภายในเรือนแก้วที่เทวดานิรมิตถวาย
    • มุจจลินทเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขผลสมาบัติใต้ต้นจิกสระมุจจลินท์ ภายหลังตรัสรู้แล้ว เป็นเวลา 7 วัน
    • รัตนจงกลมเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จพุทธดำเนินจงกลมเป็นเวลา 7 วัน
    • อชปาลนิโครธเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับนั่งขัดสมาธิ ณ บัลลังก์ภายใต้ร่มอชปาลนิโครธ (ไม้ไทร) อันเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะ และเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร
    • ราชาตนเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขสมาบัติ ณ ภายใต้ร่วมไม้ราชายนพฤกษ์ ทรงยื่นพระหัตถ์ขวารับผลสมอจากพระอินทร์ เป็นเวลา 7 วัน
  6. หอไตร คือ สถานที่เก็บรักษาพระคัมภีร์พระไตรปิฎกในวัดเจ็ดยอด เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าติโลกราช ทรงคัดเลือกพระมหาเถระ ผู้เจนจัดในพระบาลีมาชำระอักษรไตรปิฎก ซึ่งเรียกว่า อัฐมสังคายนา ครั้งที่ 8 ของโลก ทรงอบรมสมโภช หอไตรแห่งนี้เป็นการใหญ่ เพื่อใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกฉบับที่ชำระแล้ว

ขอบคุณที่มา : https://travel.trueid.net/detail/PpeYm2doJaYp
https://www.topchiangmai.com/trip/วัดเจ็ดยอด-วัดโพธาราม/


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า
LINE LOGO SVG แชท